บทที่ 3
เรื่อง "การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์"
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง
การประมวลผลข้อมูลด้วยอิเล็กทรอนิคส์ แบ่งได้ 3วิธี
1. ขั้นเตรียมข้อมูล
2. ขั้นตอนการประมวลผล
3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์
ขั้นเตรียมข้อมูล
ขั้นเตรียมข้อมูล(Input) เป็นการจัดเตรียมข้อมูลที่รวบรวมมาแล้วให้อยู่ในลักษณะที่สะดวกต่อการประมวลผล แบ่งเป็นขั้นตอนย่อย ๆ ดังนี้
1.1 การลงรหัส (Coding) หมายถึง การใช้รหัสแทนข้อมูล เช่น รหัสเลขบัตรประชาชน
1.2 การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหารวบรวมข้อมูลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ
(1) การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุสมผลของข้อมูล
(2) การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
(3) ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
(1) การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุสมผลของข้อมูล
(2) การตรวจสอบความสอดคล้องกัน
(3) ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์
1.3 การจำแนก Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็นหมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่เหมาะสมมีความหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน
1.4 การบันทึกข้อมูลลงสื่อ (Media) ที่เหมาะสม หมายถึง การจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในสื่อ หรืออุปกรณ์ที่อยู่ในรูปที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจ และนำไปประมวลได้ เช่น บันทึกข้อมูลลงในจานแม่เหล็ก หรือเทปแม่เหล็ก เพื่อนำไปประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อไป
ขั้นตอนการประมวลผล
ขั้นตอนการประมวลผล(Processing) เป็นวิธีการจัดการกับข้อมูล โดยนำข้อมูลที่เตรียมไว้แล้วเข้าเครื่อง แต่ก่อนที่เครื่องจะทำงานต้องมีโปรแกรมสั่งงานซึ่งโปรแกรมเมอร์ (Processing) เป็นผู้เขียน เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ออกมาและยังคงเก็บไว้ในเครื่องขั้นตอนต่าง ๆ อาจเป็นดังนี้
2.1 การคำนวณ (Calculation) ได้แก่ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร และทางตรรกศาสตร์ เช่น การเปรียบเทียบค่าต่าง ๆ
2.2 การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) เช่น เรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก หรือมากไปน้อยหรือเรียงตามตัวอักษร A ถึง Z เป็นต้น
2.3 การสรุป (Summarizing) เป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดให้อยู่ในรูปแบบสั้น ๆ กะทัดรัดตามต้องการ เช่น การสรุปรายรับรายจ่าย หรือ กำไรขาดทุน
2.4 การเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบสภาพที่เป็นจริงกับสภาพที่ต้องการว่ามีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
2.1 การคำนวณ (Calculation) ได้แก่ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร และทางตรรกศาสตร์ เช่น การเปรียบเทียบค่าต่าง ๆ
2.2 การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) เช่น เรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก หรือมากไปน้อยหรือเรียงตามตัวอักษร A ถึง Z เป็นต้น
2.3 การสรุป (Summarizing) เป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดให้อยู่ในรูปแบบสั้น ๆ กะทัดรัดตามต้องการ เช่น การสรุปรายรับรายจ่าย หรือ กำไรขาดทุน
2.4 การเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบสภาพที่เป็นจริงกับสภาพที่ต้องการว่ามีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์
ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ (Output) เป็นงานที่ได้หลังจากผ่านการประมวลผลแล้วเป็นขั้นตอนในการแปลผลลัพธ์ที่เก็บอยู่ในเครื่อง ให้ออกมาอยู่ในรูปที่สามารถเข้าใจง่ายได้แก่ การนำเสนอในรูปแบบรายงาน เช่น แสดงผลสรุปตารางรายงานการบัญชี รายงานทางสถิติ รายงานการวิเคราะห์ต่าง ๆ หรืออาจแสดงด้วยกราฟ เช่น แผนภูมิ หรือรูปภาพสรุปขั้นตอนการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
วิธีการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการประมวลผล (EDP) แบ่งออกได้เป็น 2 วิธีคือ
<!--[if !supportLists]-->1. <!--[endif]-->การประมวลผลแบบแบทช์ (Batch Processing)
<!--[if !supportLists]-->2. <!--[endif]-->การประมวลผลแบบอินเทอร์แอคทีฟ (interactive Processing)
1. การประมวลผลแบบแบทช์ (Batch Processing) คือ การประมวลผลโดยการรวบข้อมูลไว้ช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะนำข้อมูลเข้าเครื่องเพื่อประมวลผลในคราวเดียวกัน เช่น การทำบัญชีจ่ายเงินเดือนพนักงานทุกสิ้นเดือน ระบบการคิดดอกเบี้ยธนาคาร ซึ่งต้องใช้เวลาสะสม 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี หรือระบบการเรียนการสอน การบันทึกเกรดของนักเรียน ในแต่ละเทอมจนเทอมสุดท้ายจึงพิมพ์ใบรับรองเกรด ฉะนั้น การประมวลผลข้อมูลโดยใช้ระยะเวลาในการสะสมข้อมูลอยู่ระยะหนึ่งก่อน แล้วจึงนำมาประมวลผลพร้อมกันและในการทำงานจะไม่มีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการประมวลผลแบบนี้เรียกว่า ระบบ ออฟไลน์ (Off-Line System)
ระบบออฟไลน์ (Off-Line System) เป็นระบบที่ทำงานในลักษณะเตรียมการในการประมวลผลขั้นต่อไป โดยใช้อุปกรณ์ประเภท Input/Output Unit อุปกรณ์เหล่านี้ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU:Central Processing Unit) เช่น เครื่องบันทึกเทป (Key to tape) เครื่องบันทึกจานแม่เหล็ก(key to disk) เครื่องเจาะบัตร (Key Punch Machine)
ระบบออฟไลน์ (Off-Line System) เป็นระบบที่ทำงานในลักษณะเตรียมการในการประมวลผลขั้นต่อไป โดยใช้อุปกรณ์ประเภท Input/Output Unit อุปกรณ์เหล่านี้ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU:Central Processing Unit) เช่น เครื่องบันทึกเทป (Key to tape) เครื่องบันทึกจานแม่เหล็ก(key to disk) เครื่องเจาะบัตร (Key Punch Machine)
2. การประมวลผลแบบอินเทอแอคทีฟ (Interactive Processing) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการประมวลผลแบบออนไลน์ (On-Line Processing) เป็นวิธีการประมวลผลที่รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรงทันทีโดยไม่ต้องรอรวมหรือสะสมข้อมูล ข้อมูลแต่ละรายการจะถูกนำไปประมวลผลและได้ผลลัพธ์ทันที โดยจะมีการติดต่อกับหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) โดยตรง เช่น การฝากหรือถอนเงินธนาคารโดยใช้บัตร ATM ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการประมวลผลแบบนี้เรียกกว่า ระบบออนไลน์ (On-Line Processing)
ระบบออนไลน์ (On-Line Processing) จะทำงานตรงข้ามกับระบบออฟไลน์ เป็นการป้อนข้อมูลเข้าเครื่องโดยตรงจากที่ใดก็ได้ ที่มีอุปกรณ์บันทึกและป้อนข้อมูลอยู่โดยติดต่อกับหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) โดยตรงแล้วทำการประมวลผลทันที อุปกรณ์ที่นิยมใช้ ได้แก่ เครื่องเทอร์มินัล ลักษณะการประมวลผลโดยตรงหรือโดยทันทีมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก ได้แก่ Transaction Processing หรือ Real-Time Processing
2.จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ
โครงสร้างข้อมูล (Data Structure) ขนาดเล็กไปใหญ่
จากรูปข้างต้น คือ โครงสร้างของข้อมูลที่เรียงลำดับจากเล็กที่สุดไปยังใหญ่ที่สุดในdatabase ประกอบด้วย
1.บิท (Bit) คือ ข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ และใช้งานได้ ได้แก่ 0 หรือ 1
2. ตัวอักขระ (Character) หมายถึงสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช่ในภาษามนุษย์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
A. ตัวเลข (Numeric) คือ เลขฐาน 10 ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 0,1,2,3,4,5,6,7,8,9
B. ตัวอักษร (Alphabetic) คือ ตัวอักษร A ถึง Z
C. สัญลักษณ์พิเศษ (Special symbol) เช่น เครื่องหมายคณิตศาสตร์และสัญลักษณ์ ต่างๆ เช่น +,-,*, /, ? ,#,& เป็นต้น
A. ตัวเลข (Numeric) คือ เลขฐาน 10 ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 0,1,2,3,4,5,6,7,8,9
B. ตัวอักษร (Alphabetic) คือ ตัวอักษร A ถึง Z
C. สัญลักษณ์พิเศษ (Special symbol) เช่น เครื่องหมายคณิตศาสตร์และสัญลักษณ์
3. ฟิลด์ (Field) คือ อักขระที่มารวมกันแล้วก่อให้เกิดความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ชื่อ-สกุล อายุ เงินเดือน ที่อยู่ เป็นต้น
4. เรคคอร์ด (Record) คือ ฟิลด์ที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กันมารวมกัน เช่น เรคคอร์ด นักศึกษาจะประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลนักศึกษา ได้แก่ รหัสประจำตัวนักศึกษา ชื่อ นักศึกษา เพศ อายุวิชาเอก เป็นต้น ฉนั้น ข้อมูลนักศึกษาหนึ่งคน จะเป็น 1 เรคคอร์ด
5. ไฟล์ (File) คือ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดที่เกี่ยวข้องกันมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษาจะประกอบด้วยเรคคอร์ดของนักศึกษาแต่ละคนแต่ละห้อง
6.ฐานข้อมูล (Database) คือ หลายไฟล์ข้อมูลมารวมกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลนักเรียนมารวมกันในงานทะเบยนแล้วรวมกับไฟล์การเงิน
ไบต์ (Byte) ได้แก่ ตัวอักษร เป็นการนำเอาบิตมารวมกัน โดย 8 Bit = 1 Byte
การจัดเก็บข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ถือว่ามีประสิทธิภาพ คือ การใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูลน้อยที่สุด และจะต้องเรียกค้นหาข้อมูลได้ง่าย ดังนั้นจึงมีการแบ่งเอนทิตีออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อใช้เรียกข้อมูลย่อย ส่วนย่อยของเอนทิตีนี้เรียกว่า เขตข้อมูล (Field) ดังตัวอย่างโครงสร้างแฟ้มข้อมูลพนักงาน
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiVKoKwGNRiVxWcyg3G5X4OQ3kdF1DwF2nZrrN-7m8BB9tU1XJLcHh-42lxYImkOpTH3sDm8JBE0lQepkmSq16UdkG1fMV-BH8CF-UiNpO-EEn2uR1BRmPym-PzDcopILjmCIbBOtT_-Wkr/s1600/1_033.gif)
![](file:///C:/DOCUME~1/Compaq/LOCALS~1/Temp/msohtmlclip1/01/clip_image001.gif)
ข้อมูล บริษัท ภัทรารวีย์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
เลือก แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Model)
ข้อดี
- สามารถสื่อสารและทำความเข้าใจได้ง่าย
- สามารถทำการเลือกแสดงข้อมูลได้ตามเงื่อนไขได้หลาย key field
- ความซ้ำซ้อนของข้อมูลมีน้อยมาก
- มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีซึ่งผู้ใช้นั้นไม่จำเป็นต้องทราบถึงโครงสร้างการเก็บข้อมูลภายในฐานข้อมูล
- โครงสร้างของฐานข้อมูลมีความเป็นอิสระจากโปรแกรม
ข้อจำกัด
ไม่เหมาะสำหรับข้อมูลภาพและเสียง ในระบบฐานข้อมูลมัลติมีเดีย
วิธีการประมวลแบบแบทซ์ (Batch Processing) เป็นการประมวลผลโดยเก็บรวบรวมข้อมูลหรือคำสั่งไว้ปริมาณ หนึ่งแล้วจึงนำงานชุดหรือแบทซ์ นั้นส่งเข้าประมวลผลต่อไป วิธีการประมวลผลแบบนี้มีใช้มาตั้งแต่คอมพิวเตอร์ยุคแรก การประมวลผลแบบแบทซ์พิจารณาได้ 2 ด้าน คือ ในด้านของผู้ใช้เครื่องและในด้านของผู้มีหน้าที่ควบคุมเครื่อง
1.ในด้านผู้ใช้เครื่อง ผู้ใช้เครื่องหรือเจ้าของงานที่ต้องการประมวลผลทำการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นชุดแล้วจึงส่งเข้า ประมวลผลโดยทั่วไปผู้ใช้ถือเครื่องเอาคาบเวลาเป็นตัวกำหนดการส่งงานเข้าเครื่อง
2.ในด้านของผู้ควบคุมเครื่อง ผู้ควบคุมเครื่องทำการรวบรวมงานที่ผู้ใช้ส่งมาเพื่อรอเข้าประมวลผลเป็นชุดแล้วจึงส่งเข้า ทำงานในเครื่องครั้งละชุด ศูนย์คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีการกำหนดเวลาในการส่งเข้า เช่น ส่งเข้าทุก 2 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผลแบบแบทซ์ในด้านใดปัญหาของการทำงานที่เห็นได้ชัด คือ การประมวลผลแบบแบทซ์ต้อง ใช้เวลา แต่งานในปัจจุบันต้องการผลที่เร่งด่วนและผู้บริหารต้องการรู้ข้อมูลที่ล่าสุด เพื่อใช้ในการตัดสินใจได้ทันต่อ สถานการณ์ การประมวลผลแบบแบทซ์จึงไม่สามารถ ช่วยงานในลักษณะที่ได้เต็มที่ ลักษณะงานที่เหมาะสมกับการ ประมวลผลแบบแบทซ์ คือ
1.ในด้านผู้ใช้เครื่อง ผู้ใช้เครื่องหรือเจ้าของงานที่ต้องการประมวลผลทำการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นชุดแล้วจึงส่งเข้า ประมวลผลโดยทั่วไปผู้ใช้ถือเครื่องเอาคาบเวลาเป็นตัวกำหนดการส่งงานเข้าเครื่อง
2.ในด้านของผู้ควบคุมเครื่อง ผู้ควบคุมเครื่องทำการรวบรวมงานที่ผู้ใช้ส่งมาเพื่อรอเข้าประมวลผลเป็นชุดแล้วจึงส่งเข้า ทำงานในเครื่องครั้งละชุด ศูนย์คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีการกำหนดเวลาในการส่งเข้า เช่น ส่งเข้าทุก 2 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผลแบบแบทซ์ในด้านใดปัญหาของการทำงานที่เห็นได้ชัด คือ การประมวลผลแบบแบทซ์ต้อง ใช้เวลา แต่งานในปัจจุบันต้องการผลที่เร่งด่วนและผู้บริหารต้องการรู้ข้อมูลที่ล่าสุด เพื่อใช้ในการตัดสินใจได้ทันต่อ สถานการณ์ การประมวลผลแบบแบทซ์จึงไม่สามารถ ช่วยงานในลักษณะที่ได้เต็มที่ ลักษณะงานที่เหมาะสมกับการ ประมวลผลแบบแบทซ์ คือ
- งานที่มีข้อมูลส่งเข้าประมวลผลจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการรอเพื่อบันทึกข้อมูลลงสื่อข้อมูลคอมพิวเตอร์
- งานที่มีการปรับปรุงข้อมูลในแฟ้มข้อมูลเป็นจำนวนมากต่อการประมวลผลแต่ละครั้ง เช่น การปรับปรุงคะแนนสะสมของ นักศึกษาเมื่อสิ้นภาคการศึกษา ข้อมูลของนักศึกษาทุกคนจะถูกปรับปรุงใหม่
วิธีการประมวลระบบเรียล-ไทม์ (Real-time) เป็นระบบออนไลน์ ที่มีลักษณะคล้ายกับไทม์-แชริง แต่แตกต่างกันที่งานที่ประมวลผล เป็นงานเดียวมีผู้ร่วมใช้หลายคน เทอร์มินัลทุกจุดถูกควบคุมด้วยโปรแรกมเดียวกันเพื่อให้เครื่องสามารถติดต่อกับผู้ใช้ทุก คน จึงมีการแบ่งโปรแกรมเป็นชุดย่อย ๆ ในโปรแกรมชุดย่อยเหล่านี้ทำงานไปพ้อม ๆ กันได้
ระบบการประมวลแบบออน-ไลน์ เหมาะสมกับงานซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้
- งานที่มีข้อมูลส่งเข้าประมวลผลจำนวนน้อย
- งานที่ไม่มีการปรับปรุงแฟ้มข้อมูลทั้งหมดในการประมวลผลแต่ละครั้ง แต่เป็นการปรับปรุงบางรายการเท่านั้น
- งานที่มีการแสดงผลจำนวนน้อย ไม่มีการพิมพ์รายงานขนาดใหญ่
- งานที่ต้องการความรวดเร็ว
การประมวลผลข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์นั้นสามารถจำแนกได้ 2 แบบใหญ่ ๆ คือ การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing) และการประมวลผลแบบเชื่อมตรง (On-Line Processing)
การประมวลผลแบบกลุ่ม
การประมวลผลแบบกลุ่มเป็นการเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งรวมเข้าไว้ด้วยกันเป็นชุด ๆ หรือเป็นจำนวนมากก่อน แล้วจึงทำการบันทึกข้อมูลดังกล่าวเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ในเวลาถัดมา เมื่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ในระบบคอมพิวเตอร์มีปริมาณมากพอควรแล้วหรือเมื่อถึงกำหนดเวลาที่ได้มีการระบุไว้แน่นอน (Fixed Intervals) จึงค่อยทำการประมวลผลหรือส่งเข้าไปทำการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงแฟ้มข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำสำรอง
การประมวลผลแบบกลุ่มเป็นวิธีการประมวลผลที่ประหยัดค่าใช้จ่าย และเหมาะสำหรับงานที่ไม่จำเป็นต้องประมวลผลในทันทีทันใดที่เกิดรายการข้อมูลขึ้น ตัวอย่างเช่น ระบบการรับ-จ่ายเงินเดือน ระบบการจัดทำใบเรียกเก็บเงิน เป็นต้น หากทว่าข้อจำกัดที่สำคัญของระบบการประมวลผลแบบกลุ่ม คือ ข้อมูลหรือข่าวสารที่มีเก็บรวบรวมไว้อาจไม่เป็นปัจจุบัน
การประมวลผลแบบเชื่อมตรง
ในการประมวลผลแบบเชื่อมตรง ข้อมูลจะถูกส่งจากแหล่งกำเนิดในพื้นที่ต่าง ๆ ผ่านทางแผงแป้นอักขระของเครื่องปลายทางไปยังหน่วยประมวลผลกลางในทันทีที่มีรายการข้อมูลเกิดขึ้น เพื่อนำ ข้อมูลดังกล่าวไปประมวลผลในหน่วยประมวลผลกลางหรือไปทำการปรับปรุง/เปลี่ยนปลงแฟ้มข้อมูลในหน่วยความจำสำรองโดยตรง
ข้อดีของการประมวลผลแบบเชื่อมตรง คือ
เนื่องจากข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้ในระบบคอมพิวเตอร์จะเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ดังนั้น ผู้บริหารสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการวางแผนและการตัดสินใจได้ทันเวลาและมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจะเป็นการช่วยลดความผิดพลาดและความเสียหายในการเคลื่อนย้ายข้อมูลจากแหล่งกำเนิดข้อมูลไปยังหน่วยประมวลผลกลางได้ หากข้อจำกัดของการประมวลผลแบบเชื่อมตรง คือ ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดทำระบบการประมวลผลแบบเชื่อมตรงค่อนข้างสูง
ที่มา
http://www.streesmutprakan.ac.th/teacher/techno/WEB%20_JAN/p2.html
:203.172.182.81/wbidatabase/unit3/unit3.php#3.2
:203.130.141.199/NewDBMS/db05.htm
:www.ning24.freeservers.com/fteen.html
:www.202.29.8.1/~nong/4121201/Fream3.html#three
:www.uni.net.th/~16_2543/Unit1.3.htm
http://www.streesmutprakan.ac.th/teacher/techno/WEB%20_JAN/p2.html
:203.172.182.81/wbidatabase/unit3/unit3.php#3.2
:203.130.141.199/NewDBMS/db05.htm
:www.ning24.freeservers.com/fteen.html
:www.202.29.8.1/~nong/4121201/Fream3.html#three
:www.uni.net.th/~16_2543/Unit1.3.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น